OccupationalTherapy http://chonm.siam2web.com/

 

ประวัติกิจกรรมบำบัดในประเทศไทย

  

          วิชาชีพกิจกรรมบำบัดในประเทศไทย เกิดขึ้นครั้งแรกที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ ฝน แสงสิงห์แก้ว ได้นำงานอาชีวบำบัด เช่น งานทอ งานไม้ เพื่อทำการรักษาผู้ป่วยจิตเวช
          พ.ศ. 2499 ศาสตราจารย์นายแพทย์ เฟื่อง สัตย์สงวน ได้ก่อตั้งหน่วยอาชีวบำบัด เพื่อบำบัดและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย ในแผนกศัลยกรรมกระดูก (โรงพยาบาลศิริราช)
          พ.ศ. 2517 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดตั้งสาขาอาชีวบำบัดขึ้น โดยมี ศาสตราจารย์นายแพทย์ชัยโรจน์ แสงอุดม คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์และรองศาสตราจารย์นายแพทย์เทอดชัย ชีวเกตุ เป็นหัวหน้าโครงการ
          พ.ศ. 2523 ทบวงมหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปลี่ยนจาก ภาควิชาอาชีวบำบัด เป็น ภาควิชากิจกรรมบำบัด และได้เปิดทำการสอนนักศึกษารุ่นแรก สำเร็จการศึกษา 8 คน จึงนับได้ว่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรก และแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ให้การศึกษในสาขาวิชานี้
          พ.ศ. 2530 บัณฑิตที่จบการศึกษาไปแล้วได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็น"ชมรมกิจกรรมบำบัด" เพื่อพัฒนาวิชาชีพกิจกรรมบำบัด
          พ.ศ. 2536 ได้เปลี่ยนจากชื่อ"ชมรมกิจกรรมบำบัด" เป็น "ชมรมนักกิจกรรมบำบัดแห่งประเทศไทย" โดยมีที่ทำการอยู่ที่ ภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
         29
มิถุนายน 2538 ได้มีการยื่นเรื่องจัดตั้งสมาคมวิชาชีพ ขึ้นเป็นสมาคมกิจกรรมบำบัดแห่งประเทศไทย (The Occupational Therapist Association of Thailand) เพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพนี้ให้ดีขึ้น
          พ.ศ. 2539 WFOT ได้ให้การรับรองหลักสูตรวิชาชีพกิจกรรมบำบัด
4
มิถุนายน 2541 ได้ดำเนินการติดต่อเข้าเป็นสมาชิกของ WFOT และได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อสมาคมเป็น"สามาคมนักกิจกรรมบำบัดแห่งประเทศไทย"เพื่อเปิดโอกาศให้บุคลากรทุกระดับสายงานนี้สามารถเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมนี้ได้

          พ.ศ.2551 หลักสูตรกิจกรรมบำบัดได้เปิดขึ้นเป็นแห่งที่สองที่ สาขากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

ที่มา : http://www.vcharkarn.com/vblog/32177/3 

 
Advertising Zone    Close

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...